เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า TENS แบบพกพา
เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า เอฟวรี่เวย์ รุ่น อีวี-806 (“Everyway” Electrical Muscle Stimulator Model EV-806)
เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ส่งกระแสไฟฟ้าผ่านอิเล็กโทรดเข้าสู่ร่างกายไปยังเส้นประสาทและกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาท เครื่องนี้เป็นอุปกรณ์กระตุ้นที่ผสมผสานสำหรับกระแสทีอีเอ็นเอส (TENS) และกระตุ้นกล้ามเนื้อไฟฟ้า (EMS) ซึ่งใช้ในการบำบัดรักษาอาการ ดังต่อไปนี้
- กระตุ้นกล้ามเนื้อและบรรเทาความเจ็บปวด
- ผ่อนคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- ป้องกันหรือยับยั้งการหดลีบของกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งาน
- เพิ่มการไหลเวียนเลือดเฉพาะที่
- ฝึกกล้ามเนื้อให้กลับมาทำงานใหม่ได้
คุณสมบัติ
รูปแบบการรักษา ประกอบด้วยการรักษา 2 รูปแบบ ดังนี้
- การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าผ่านผิวหนังไปยังเส้นประสาท Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation (TENS)
- การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า Electrical Muscle Stimulation (EMS)
รูปแบบกระแสไฟ ในการใช้งาน
- การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าผ่านผิวหนังไปยังเส้นประสาท Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation (TENS) สามารถเลือกใช้กระแสไฟได้ 5 รูปแบบ ดังนี้:
- B (Burst) ปรับเปลี่ยนได้ 0.5 – 5Hz
- N (Normal) ปรับเปลี่ยนอัตราและความกว้างของการกระตุ้นได้
- M (Modulation) เป็นการผสมผสานระหว่างการเปลี่ยนช่วงความถี่ของอัตรา การกระตุ้นกับความกว้างของการกระตุ้น
- SD1 (Strength Duration) การปรับเปลี่ยนความแรงของ กระแสโดยอัตโนมัติ
- SD2 (Strength-Duration) การปรับเปลี่ยนความแรงของ กระแสและความกว้างของการกระตุ้นโดยอัตโนมัติ
- การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า Electrical Muscle Stimulation (EMS) สามารถเลือกใช้กระแสไฟได้ 2 รูปแบบ ดังนี้:
- Synchronous การกระตุ้นของทั้งสองช่องเกิดขึ้นพร้อมกัน เวลา “เปิด” รวมถึงเวลา “เพิ่มและลดกระแส”
- Alternate การกระตุ้นของ CH2 จะเกิดขึ้นหลังจากการหดตัวครั้งแรกของ CH1 เสร็จสมบูรณ์
- สามารถปรับเปลี่ยน Pulse Amplitude ได้ในช่วงระดับสูงสุด 0 – 100 mA
- รูปแบบคลื่น Asymmetrical Bi-phasic Square pulsed
- แรงดันไฟฟ้า 0 ถึง 50 V
- สามามารถปรับอัตราการกระตุ้น (Pulse Rate) จาก 2 ถึง 150 Hz (ปรับเพิ่มขึ้นได้ครั้งละ 1 Hz)
- สามามารถปรับระยะกว้างของการกระตุ้น (Pulse Width) จาก 50 ถึง 300 µs (ปรับเพิ่มขึ้นได้ครั้งละ 10 µs)
- สามารถปรับช่วงปล่อยไฟ (On time) ได้ในช่วง 2-90 วินาที และช่วงพัก (Off time) ได้ในช่วง 0-90 วินาที (ปรับเพิ่มขึ้นได้ครั้งละ 1 วินาที)
- สามารถปรับเวลาการปล่อยคลื่นเป็นชุดแบบค่อยๆเพิ่มและลด (Ramp time) ได้ในช่วง 1-8 วินาที (ปรับเพิ่มขึ้นได้ครั้งละ 1 วินาที)
- สามารถตั้งเวลาการรักษาได้ตั้งแต่ 1-60 นาที หรือต่อเนื่อง
- สินค้าได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ISO13485 และ ISO14971
- มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าทางการแพทย์ IEC 60601
“อ่านคําเตือนในฉลาก และเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้”
คำเตือน
- ใช้โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
- ใช้แทนการออกกำลังกายไม่ได้
- อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือไหม้ของผิวหนังภายใต้บริเวณที่สัมผัสกับขั้วกระตุ้น (electrode)
- อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า เช่น
- ช็อคหรือหมดสติจากเครื่องทำงานผิดปกติ หรือร่างกายบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้ารั่ว
- การไม่สามารถควบคุมเครื่องได้อันเป็นผลจากการรบกวนของเครื่องหรืออุปกรณ์บำบัดด้วยคลื่นสั้นและไมโครเวฟ ทำให้เกิดการไหลของกระแสขึ้นเอง หรือไหลเพิ่มขึ้น ฉะนั้น จึงควรจัดเครื่องกระตุ้นให้อยู่ห่างจาดเครื่องหรืออุปกรณ์บำบัดด้วยคลื่นสั้นและไมโครเวฟอย่างน้อย 3 เมตร และควรใช้ปลั๊กแยก
- อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายจากการที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณหัวใจ
- อาจเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรงบริเวณหลอดลมและหลอดเสียงจากการวางขั้วกระตุ้น (electrode) เหนือบริเวณคอหรือปาก จนทำให้หายใจลำบาก
- ควรเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวให้ห่างจากมือเด็ก
- มีระบบสายดินเพื่อป้องกันไฟรั่ว
- ไม่ควรทำการกระตุ้นที่เส้นประสาทบริเวณคาโรติดไซนัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยซึ่งเป็นที่ทราบว่ามีความไวต่อการเกิดคาโรติดไซนัสรีเฟล็กซ์
- ไม่ควรทำการกระตุ้นผ่านช่องอกซึ่งการนำกระแสไฟเข้าไปภายในหัวใจอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
- ไม่ควรทำการกระตุ้นผ่านเข้าสู่เนื้อสมอง
- ไม่ควรทำการกระตุ้นบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการบวม ติดเชื้อ หรืออักเสบ หรือมีผิวหนังแดงตึงปริ เช่น มีภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ หลอดเลือดดำอักเสบร่วมกับมีลิ่มเลือด มีเส้นเลือดขอด เป็นต้น
- ไม่ควรทำการกระตุ้นบริเวณที่มีรอยโรคมะเร็ง หรือบริเวณที่ใกล้เคียง
ข้อควรระวัง
- ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังบริเวณที่ต้องทำการรักษา
- ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตผิดปกติ
- ผู้ที่สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจหรือผู้ป่วยโรคลมชัก
- ผู้ที่มีแนวโน้มเลือดออก เช่น ภายหลังการทำผ่าตัด บาดเจ็บ กระดูกหัก หรือขณะมีรอบเดือน
- ผู้ป่วยที่เคยมีอาการระคายเคืองผิวหนังหรือมีผิวหนังที่ไวต่อการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
- บริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ (bony prominence)
- บริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิด
- บวิเวณเส้นเลือดขอด (varicose vein)
- ไม่ควรใช้เครื่องขณะขับรถ ใช้งานเครื่องจักรกล หรืออยู่ใกล้น้ำ หรือระหว่างการทำกิจกรรมใดๆ ซึ่งการหดตัวของกล้ามเนื้ออาจทำให้ผู้ใช้เครื่องเกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเกินควร
- ผู้มีความผิดปกติของระบบประสาทรับสัมผัส
- เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้
- ควรเก็บเครื่องให้พ้นมือเด็ก
“ข้อควรระวังในการใช้การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (TENS)”
- ไม่ใช้เครื่องในกลุ่มอาการปวดที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกว่าจะได้ปรึกษาแพทย์ก่อนการรักษา
- ผู้ป่วยที่มีการฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าในร่างกาย เช่น เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า หรือโลหะอื่นๆ ไม่ควรรับการบำบัดด้วยการกระตุ้นด้วยกระแส (TENS) โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผู้ป่วยที่เป็นโครหัวใจ โรคลมชัก มะเร็ง หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ไม่ควรรับการบำบัดด้วยการกระตุ้นด้วยกระแส (TENS) โดยไม่ปรึกษาแพทย์
- การกระตุ้นจากอุปกรณ์นี้อาจเพียงพอให้เสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้าได้ กระแสไฟฟ้าในความแรงระดับนี้ไม่ควรเคลื่อนผ่านช่องอกหรือไหลพาดผ่านทรวงอก เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้
- ไม่วางอิเล็กโทรดที่ด้านหน้าของลำคอ เนื่องจากอาจเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้องกล่องเสียงหรือคอหอยได้ การกระตุ้นเหนือบริเวณคาโรติดไซนัส (บริเวณลำคอ) อาจทำให้มีการปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบากและอาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ต่อจังหวะการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตได้
- ไม่วางขั้วไฟฟ้าที่ศีรษะ หรือตรงส่วนใดๆ ที่อาจทำให้กระแสไฟแล่นผ่านสมอง (ทะลุเข้าศีรษะ) ได้
- ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการระคายเคืองของผิวหนังที่ตำแหน่งติดอิเล็กโทรด หลังจากใช้งานเครื่องมาเป็นเวลานาน หากเกิดปัญหานี้ให้หยุดใช้เครื่องและปรึกษาแพทย์
หากการบำบัดด้วยการกระตุ้นด้วยกระแส (TENS) ไม่มีประสิทธิภาพหรือทำให้รู้สึกไม่สบาย ควรหยุดทำการกระตุ้นจนกว่าแพทย์จะได้ทำการประเมินผลการใช้งานใหม่อีกครั้ง - อุปกรณ์นี้ไม่มีการป้องกันต่อการไวไฟ ห้ามใช้เครื่องในภาวะแวดล้อมที่ไวต่อการเกิดระเบิดและมีสารไวไฟ
“ข้อควรระวังในการใช้การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (EMS)”
- ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนถึงความปลอดภัยในการใช้เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าระหว่างการตั้งครรภ์
- ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อใช้เครื่องกับผู้ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ หรือได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
- ควรใช้ความระวัดระวังเมื่อใช้เครื่องกับผู้ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคลมชักหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก
- ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อมีปัญหาต่อไปนี้
- เมื่อมีแนวโน้มที่จะเกิดเลือดออกได้ หลังจากได้รับบาดเจ็บเฉียบพลันหรือมีกระดูกหัก
- หลังจากผ่านหัตถการผ่าตัดได้ไม่นาน ซึ่งการหดตัวของกล้ามเนื้ออาจขัดขวางกระบวนการสมานแผล
- ในช่วงที่มีประจำเดือนหรือมดลูกอยู่ในภาวะตั้งครรภ์
- ในบริเวณที่มีผิวหนังขาดการรับความรู้สึกตามปกติ
- ผู้ป่วยบางคนอาจมีการระคายเคืองผิวหรือมีอาการแพ้ เนื่องจากการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้าหรือจากวัสดุที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า ตามปกติแล้วสามารถลดการระคายเคืองได้แล้ว โดยการใช้สื่อนำไฟฟ้าแบบอื่น หรือเปลี่ยนตำแหน่งวางอิเล็กโทรด
- การวางตำแน่งอิเล็กโทรดและการตั้งค่าการกระตุ้น ควรอ้างอิงตามคำแนะนำของแพทย์ผู้สั่งทำการบำบัด
ข้อห้ามใช้
- บริเวณท้องของผู้หญิงมีครรภ์
- ความผิดปกติของผิวหนัง (abnormal skin) ได้แก่ โรคเรื้อนกวาง หรือสะเก็ดเงิน
- บริเวณที่มีอาการบวม ติดเชื้อ หรืออักเสบ
- บริเวณที่เป็นมะเร็งและวัณโรค
- ผู้ที่ใช้เครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (cardiac pacemaker)
- ภาวะโรคหัวใจอย่างรุนแรง
- ภาวะมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (phlebothrombosis)
- ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตผิดปกติอย่างรุนแรง
- บริเวณที่มีเลือดออกหรือภาวะเลือดออกง่าย หรือมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือด และบริเวณที่มีความผิดปกติของหลอดเลือด หรือระบบการไหลเวียนเลือด (circulatory dysfunction)
- ผู้ที่มีไข้สูง
- บริเวณลำคอด้านหน้า หรือผ่านหัวใจ หรือผ่านสมอง
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า TENS รุ่น EV-806 - Prapatsorn Medical เครื่องมือกายภาพบำบัด และตรวจปอด
เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า กระแส TENS EMS แบบพกพา ผลิตภัณฑ์ Everyway Medical รุ่น EV-806 ได้ผ่านมาตรฐาน อย ไทย มีบริการหลังการขาย มาพร้อม TENS 5 กระแส และ EMS 2 กระแส
Product SKU: EV-806
Product Brand: Everyway Medical
Product Currency: THB
Product Price: CALL
Product In-Stock: InStock
5