เครื่องดึงด้วยไฟฟ้า “EVERYWAY” AUTOMATIC TRACTION ET-800

เครื่องดึงด้วยไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ดึงคอและหลังแบบอัตโนมัติ โดยอาศัยน้ำหนักจากแรงตึงเชือก เพื่อใช้ในการบำบัดรักษา โรคที่เกิดจากการกดทับของกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ข้อบ่งใช้และประโยชน์
  • เพื่อดึงแขนหรือแยกตัวกระดูกสันหลังออกจากกัน
  • เพื่อแยกและเลื่อนข้อต่อกระดูกสันหลังออกจากกัน
  • เพื่อให้โครงสร้างเอ็นยึดข้อของส่วนกระดูกสันหลังตึงขึ้น
  • เพื่อให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น
  • เพื่อให้ส่วนโค้งต่างๆของกระดูกสันหลังตรงขึ้น
  • เพื่อให้ระบบกล้ามเนื้อของกระดูกสันหลังยืดออก
  • ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อ เยื่อหุ้มข้อคลายตัว หรือยืดตัว
  • ยืดส่วนโค้งของแนวกระดูกสันหลัง
  • ลดปวด
  • ลดอาการชาของแขน หรือขา ที่มีสาเหตุมาจากเส้นประสาทถูกกดทับ
  • ลดแรงกดที่เกิดขึ้นบนหมอนรองกระดูก

“อ่านคําเตือนในฉลาก และเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้”

คำเตือน
  • ใช้โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  • ควรทำการรักษาขณะที่มีแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอยู่ด้วยเท่านั้น
  • แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดควรอยู่ด้วยตลอดเวลาที่ให้การรักษาและดูแลการรักษาอย่างใกล้ชิด
  • ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพังขณะรักษา
  • ใช้สายรัดดึงปลดล็อกง่ายเพื่อจะได้ถอดออกจากตัวผู้ป่วยได้โดยง่ายในกรณีที่ไฟดับ
  • อาจทำให้เกิดอาการช็อคหรือหมดสติจากการทำงานผิดปกติของเครื่อง หรืออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายจากการรั่วของกระแสไฟฟ้า
  • ตรวจสอบการทำงานของสวิตซ์หยุดฉุกเฉินให้ทำงานได้ตลอดเวลา

ข้อควรระวัง
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนอยู่ในท่านอนคว่ำหรือนอนหงายได้นาน ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่เหมาะต่อการรักษาด้วยเครื่องดึง
  • อาจทำให้เกิดอาการปวด กรณีที่เกิดแรงดึงมากเกินไปหรือระยะเวลาดึงนานเกินไป
  • กรณีมีฟันปลอม เครื่องช่วยฟัง แว่นตา ให้ถอดออกก่อนทำการรักษา
  • ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

ข้อห้ามใช้
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านโครงสร้างเนื่องจากมีเนื้องอก หรือมีการติดเชื้อ (เช่น Osteomyelitis, มีการผุกร่อนของกระดูกสันหลัง และข้อกระดูกสันหลังอักเสบ)
  • ผู้ป่วยที่มีความไม่คงที่ของข้อ มีการเคลื่อนไหวมากผิดปกติ หรือมีกระดูกสันหลังหัก ภาวะข้อกระดูกสันหลังไม่มั่นคง (Instability of spine)
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออาจตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างรุนแรง มีปัญหาในหลอดเลือด มีภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่ห้ามเคลื่อนไหว
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะเคล็ดขัดยอก ข้อแพลง หรือมีการอักเสบที่อาจเกิดอาการหนักขึ้นได้จากการดึง
  • หยุดการดึงหากผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขามากขึ้น
  • การดึงเอวในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมหรือไส้เลื่อนผนังหน้าท้อง
  • การบาดเจ็บระยะเฉียบพลันในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการดึง
  • บริเวณที่มีแผลบาดเจ็บ หรือแผลเปิด
  • ผู้ที่เป็นมะเร็ง หรือเนื้องอกของกระดูก หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่ดึง
  • ภาวะการติดเชื้อของกระดูกสันหลัง เช่น วัณโรค
  • ภาวะประสาทไขกระดูกสันหลังถูกกดทับ หรืออัมพาตท่อนล่าง
  • ภาวะเป็นริดสีดวงทวารขึ้นรุนแรง ภาวะไส้เลื่อน หญิงมีครรภ์ (เฉพาะการดึงหลัง)
  • ภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
  • ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง ภาวะกระดูกพรุน Ankylosis spondylitis
  • ภาวะโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
  • ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด