LiKAWAVE VARIO 3i

เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นกระแทก LiKAWAVE VARIO 3i

เครื่องบำบัดรักษาด้วยคลื่นกระแทก (extracorporeal shock wave therapy หรือ ESWT) ผลิตภัณฑ์ LIKAMED® ประเทศเยอรมนี

โดยมีโหมดการรักษา 4 โหมด ได้แก่

  • THE LINEAR MODE: ความแรงและความถี่คงที่ตลอดการรักษา
  • THE PULSE MODE: สามารถตั้งค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของความแรงและความถี่ได้ สำหรับการรักษาที่ตั้งค่าไว้ ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงของความแรงและความถี่เป็นขั้นตอน
  • THE TRIANGLE MODE: สามารถตั้งค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของความแรงและความถี่ได้ สำหรับการรักษาด้วยการเปลี่ยนแปลง ความแรงและความถี่สลับไปมาอย่างต่อเนื่อง
  • THE INVERT MODE: มีค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดสำหรับความแรงและความถี่ การเพิ่มและลดจะเป็นไปในทางตรงข้ามกันของสองค่านี้ หรือเรียกว่ามีการสลับค่ากันและมีโปรแกรมการรักษา ออกแบบให้สามารถเลือกใช้ได้ 3 โปรแกรม ได้แก่
    • การรักษาด้วยคลื่นกระแทกแบบกำหนดเอง (Treatment Shockwave)
    • โปรแกรมการรักษาตามขอบเขตของอาการ (Indication List)
    • โปรแกรมการรักษาตามจุด Trigger point (Trigger points)


LiKAWAVE VARIO® 3i เป็นอุปกรณ์การแพทย์สำหรับให้การบำบัดด้วยช็อคเวฟ (extracorporeal shock wave therapy หรือ ESWT)

ข้อบ่งใช้

เครื่อง LiKAWAVE VARIO® 3i เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการบำบัดด้วยคลื่นกระแทกนอกร่างกาย (ESWT) และใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วยคลื่นกระแทกตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ระบุไว้ การให้คลื่นกระแทกต้องอาศัยความรู้ทางการแพทย์และต้องดำเนินการโดยผู้ที่มีการฝึกอบรมทางการแพทย์เท่านั้น (เช่น แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูก, นักกายภาพบำบัด, บุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯ) การใช้งานที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง เครื่องนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานในอาคาร การใช้งานรวมถึงการรักษาด้านศัลยกรรมกระดูก, ผิวหนัง, ระบบทางเดินปัสสาวะ, กายภาพบำบัด และการรักษาในลักษณะเดียวกัน

โปรดอ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
  • ใช้โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  • ไม่ควรใช้ เครื่องให้การรักด้วยคลื่นกระแทก กับผู้ป่วยดังต่อไปนี้
  • เนื้องอก
  • การตั้งครรภ์
  • การอักเสบเฉียบพลัน
  • การเกิดลิ่มเลือดและการอักเสบของหลอดเลือดดำ
  • ในช่วงการดูดซึมยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ในระหว่างการบำบัดด้วยคอร์ติโซนอย่างต่อเนื่อง
  • บริเวณที่บอบบางของร่างกาย (ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วย)
  • บริเวณที่อวัยวะภายในอาจได้รับผลกระทบ
  • ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้ผลตอบรับทางชีวภาพได้
  • คนไข้ที่มีการปลูกถ่าย: บริเวณรอบๆ รากเทียม (เช่น ข้อเข่าเทียม)