เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

Yingchi M Series

(Transcranial magnetic stimulation system: TMS)

วัตถุประสงค์การใช้งาน

ใช้สำหรับการวินิจฉัย รักษา และวิจัย สำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) และส่วนปลาย (peripheral nervous system) โดยเน้นที่การบำบัดรักษา อาการปวดจากระบบประสาท (Neuropathic pain) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) และ โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder) เป็นต้น

คุณลักษณะทั่วไป

  1. เป็นเครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพร้อมหัวกระตุ้น (coil)
  2. สามารถใช้ในการกระตุ้นระบบประสาททั้งบริเวณรยางค์ (Peripheral)และระบบประสาทส่วนกลาง (Cortical) ได้
  3. เครื่องติดตั้งอยู่บนรถเข็นสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกพร้อมแขนจับหัวกระตุ้น
  4. ใช้กับไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์
  5. เป็นเครื่องที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล CE Mark และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) เป็นอย่างน้อย

 

หัวคอยล์

    1. ส่วนของหัวคอยล์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำจากขดลวดทองแดง
    2. มีรูปแบบสัญญาณ (Waveform) ชนิด Biphasic ค่าพลังงานมากกว่า 1 เทสลา

 

มีหัวกระตุ้นให้ใช้ดังนี้

    •  Figure-8 coil เพื่อใช้ใน focus stimulation เช่นใช้ในการวิจัย
    •  Circular coil เพื่อใช้ในการตรวจประเมิน และเน้นการรักษาในส่วนรยางค์ (Peripheral)
    •  Cone coil เพื่อกระตุ้น brain structure ที่อยู่ลึก
  • หัวคอยล์มีปุ่มปรับค่าพลังงาน พร้อมหน้าจอแสดงค่าพลังงาน เพื่อความสะดวกในการใช้งานขณะทำการรักษา

 

ส่วนของเครื่องกำเนิดสนามแม่เหล็กที่ใช้ในการกระตุ้น

    1. มีปุ่มสำหรับปรับค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของตัวเครื่อง
    2. สามารถเลือกความถี่ในการกระตุ้นได้สูงสุด 100 ครั้งต่อวินาที
    3. การเลือกรูปแบบการทำงาน สามารถเลือกโหมดการกระตุ้นได้ ทั้ง Single pulse, rTMS และ Theta Burst
    4. มีรูปแบบสัญญาณ (Waveform) ชนิด Biphasic
    5. สามารถวัดและเชื่อมต่อเครื่อง Electrodiagnosis เพื่อวัดค่า MEP เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยร่วมด้วย

หน้าจอสามารถแสดงรายละเอียดการทำงานได้ ดังนี้

  • ชื่อผู้ป่วยและโปรแกรมที่เลือกใช้งาน
  • อุณหภูมิของคอยล์
  • ค่า % ของพลังงานในการกระตุ้น (Intensity)
  • ความถี่ (Frequency)
  • จำนวนการกระตุ้น (Number of pulses)
  • ช่วงพัก (Inter-train interval)
  • จำนวนรอบของการกระตุ้น (Repeat time)
  • ภาพของรูปแบบคลื่นในการกระตุ้น (Diagram section)
  • ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการข้อมูลคนไข้ และ Protocol ผ่าน Computer ได้เองโดยสะดวก ติดตั้งอยู่บนรถเข็น สามารเคลื่อนย้ายได้สะดวกพร้อมที่แขวนคอยล์
  • มีระบบระบายความร้อน (Cooling unit) ด้วยสารหล่อเย็น (liquid-cooled coils) ทำให้สามารถกระตุ้นได้ยาวนานขึ้น โดยมีหน้าจอแสดง ปริมาณของสารหล่อเย็น และอุณภูมิของระบบระบายความร้อน

“อ่านคําเตือนในฉลาก และเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้”

คำเตือน
  • ใช้โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  • ควรทำการรักษาขณะที่มีแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอยู่ด้วยเท่านั้น
  • แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดควรอยู่ด้วยตลอดเวลาที่ให้การรักษาและดูแลการรักษาอย่างใกล้ชิด
  • ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพังขณะรักษา
  • ใช้สายรัดดึงปลดล็อกง่ายเพื่อจะได้ถอดออกจากตัวผู้ป่วยได้โดยง่ายในกรณีที่ไฟดับ
  • อาจทำให้เกิดอาการช็อคหรือหมดสติจากการทำงานผิดปกติของเครื่อง หรืออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายจากการรั่วของกระแสไฟฟ้า
  • ตรวจสอบการทำงานของสวิตซ์หยุดฉุกเฉินให้ทำงานได้ตลอดเวลา

ข้อควรระวัง
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนอยู่ในท่านอนคว่ำหรือนอนหงายได้นาน ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่เหมาะต่อการรักษาด้วยเครื่องดึง
  • อาจทำให้เกิดอาการปวด กรณีที่เกิดแรงดึงมากเกินไปหรือระยะเวลาดึงนานเกินไป
  • กรณีมีฟันปลอม เครื่องช่วยฟัง แว่นตา ให้ถอดออกก่อนทำการรักษา
  • ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

ข้อห้ามใช้
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านโครงสร้างเนื่องจากมีเนื้องอก หรือมีการติดเชื้อ (เช่น Osteomyelitis, มีการผุกร่อนของกระดูกสันหลัง และข้อกระดูกสันหลังอักเสบ)
  • ผู้ป่วยที่มีความไม่คงที่ของข้อ มีการเคลื่อนไหวมากผิดปกติ หรือมีกระดูกสันหลังหัก ภาวะข้อกระดูกสันหลังไม่มั่นคง (Instability of spine)
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออาจตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างรุนแรง มีปัญหาในหลอดเลือด มีภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่ห้ามเคลื่อนไหว
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะเคล็ดขัดยอก ข้อแพลง หรือมีการอักเสบที่อาจเกิดอาการหนักขึ้นได้จากการดึง
  • หยุดการดึงหากผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขามากขึ้น
  • การดึงเอวในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมหรือไส้เลื่อนผนังหน้าท้อง
  • การบาดเจ็บระยะเฉียบพลันในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการดึง
  • บริเวณที่มีแผลบาดเจ็บ หรือแผลเปิด
  • ผู้ที่เป็นมะเร็ง หรือเนื้องอกของกระดูก หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่ดึง
  • ภาวะการติดเชื้อของกระดูกสันหลัง เช่น วัณโรค
  • ภาวะประสาทไขกระดูกสันหลังถูกกดทับ หรืออัมพาตท่อนล่าง
  • ภาวะเป็นริดสีดวงทวารขึ้นรุนแรง ภาวะไส้เลื่อน หญิงมีครรภ์ (เฉพาะการดึงหลัง)
  • ภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
  • ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง ภาวะกระดูกพรุน Ankylosis spondylitis
  • ภาวะโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
  • ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด
YINGCHI Pulsed Magnetic Stimulation Device M-50 Ultimate
เครื่อง TMS Prapatsorn Medical เครื่องมือกายภาพบำบัด และตรวจปอด

Transcarnal Magnetic Stimulation (TMS) M Series

Product SKU: M Series

Product Brand: Yingchi

Product Currency: THB

Product Price: Call

Product In-Stock: PreOrder

Editor's Rating:
5