เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าและอุลตราซาวด์ Stereodynator UV

เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าและอุลตราซาวด์ Stimulation Current Unit (Ultrasound therapy module + Vacuum application module) Model Stereodynator UV

ข้อมูลทางคลินิค (ข้อบ่งใช้และประโยชน์)
  • เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า
  • บำบัดความเจ็บปวดด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าอินเตอร์เฟอร์เรนซ์แบบสามมิติ
  • สร้างความตึงตัวให้กล้ามเนื้อ และลดความแข็งตึงของกล้ามเนื้อ
  • ใช้ทำแกลวาไนเซซันและไอออนโตโฟรีซิส
  • กระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • รักษาภาวะอุดกลั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้
  • รักษาภาวะกล้ามเนื้อฝ่อเนื่องจากการไม่ได้ใช้งาน หรือมีกล้ามเนื้ออ่อนแอหลังจากไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน
  • การบำบัดด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า โดยไม่มีผลข้างเคียงจากอิเลคโทรไลต์ และมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเพียงเล็กน้อย
  • รักษาอาการเจ็บปวด การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ โรคที่เกี่ยวกับการทำงานของระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

เครื่องอุลตราซาวด์
  • รักษาโรคไขข้ออีกเสบของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
  • ลดการยึดติดของเนื้อเยื่อ และเคล็ดขัดยอก ข้อยึดติด
  • รักษาโรคอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่น โรคปลายประสาทอักเสบ
  • ลักษณะตัวเครื่องเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีขนาดกว้าง 36 ซม. ยาว 5 ซม. สูง 37.5 ซม.
  • น้ำหนักตัวเครื่อง 14 กิโลกรัม (ไม่รวมอุปกรณ์ประกอบ)
  • หน้าจอสี LCD ขนาด 15 นิ้ว และระบบสัมผัส (Touch screen) พร้อมกับปุ่มหมุนและปุ่มกดสำหรับควบคุมการทำงาน
  • ตัวเครื่องสามารถเลือกการตั้งค่าวันที่ เวลา ภาษา ความเข้มหน้าจอ เสียง และการตั้งค่าอื่นๆ สามารถใช้งานได้ง่าย
  • มีปุ่มหมุนสำหรับปรับความเข้มข้นของคลื่นหรือกระแสไฟฟ้า
  • หน้าจอสามารถแสดงรายละเอียดในการรักษา (Therapy program), สามารถวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยและการรักษาตามการวินิจฉัยของโรคได้
  • ตัวเครื่องสามารถเรียกดูการรักษาล่าสุด (Therapy used last) และโปรแกรมโปรดในการรักษา (Therapy programs favourites)
  • การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าระบบดูดสุญญากาศ
    • เลือกรูปแบบการรักษาได้ 2 โปรแกรมหลัก ได้แก่
      • More Therapies แบ่งตามกลุ่มของกระแสไฟฟ้าสำหรับรักษา ดังนี้ diadynamic Currents, Impulse Currents, Middle Frequency, Interferential Currents, Stereodynamic Currents และ Diagnosis
      • Indications แบ่งตามอาการหรือโรคตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้ Head&Neck, Upper Extremities, Spinal Column & Trunk และ Lower Extremities
  • ระบบดูดสุญญากาศแบบ Stereodynamic (3-circits)
    • สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ในช่องสัญญาณคู่ที่ 1 (channel I)
    • สามารถตั้งเวลาในการรักษาได้ 30 นาที
    • สามารถเลือกใช้กระแสไฟฟ้าได้ 24 รูปแบบ
  • ระบบดูดสุญญากาศทั่วไป
    • สามารถเลือกปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ 2 ช่องสัญญาณ คือ channel I หรือ channel IIโดยปล่อยกระแสไฟฟ้ากระแสแบบเดียวกันหรือต่างกัน แยกกันในแต่ละช่องสัญญาณได้
    • สามารถตั้งเวลาในการรักษาได้ 30 นาที
    • สามารถเลือกใช้กระแสไฟฟ้าได้ 57 รูปแบบ
ชนิดของกระแสไฟฟ้า

เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าและอุลตราซาวด์ มีกระแสไฟฟ้าแบบต่างๆ มากมายให้เลือกจากโปรแกรม เพื่อการบำบัด รายละเอียดดังนี้

  • Diadynamic currents
    • : CP (Courtes périodes)
    • : CP-id (MF-part lowered)
    • : DF (Diphasé fixe)
    • : LP (Longues périodes)
    • : MF (Monophasé fixe)
    • : MM (Monophasé modulé)
    • : RS (Rhythme syncope)
  • Pulsed currents
    • Galvanic current
    • High voltage
    • Impulse galvanization IG 30
    • Impulse galvanization IG 50
    • Frequency modulation FM / 7 – 14 Hz
    • Micro current biphasic
    • Mikro current monophasic
    • Faradic current
    • Ultrastimulation current
    • TENS biphasic
    • TENS monophasic
    • TENS Burst biphasic
    • TENS Burst monophasic
  • Middle frequency current 8 kHz
    • Russian Stimulation (Kots)
    • Gym Current
    • MF sinus modulated
  • Interference currents
    • Interference
    • Dipol Vector
    • Isoplanar Vector
  • Stereodynamic Interference currents
    • Stereodyn. Interference
  • 3 Channel currents
    • Gym Burning Mode
    • Gym Current
  • Diagnoses
    • Monophasic (T/R) single pulse mode
    • : Biphasic (T/R) single pulse mode
    • I/T-Curve
    • : Rheobase/ Chronaxe
    • MF-Test acc. to Dr. Lange

“อ่านคําเตือนในฉลาก และเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้”

คำเตือน

เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า

  • ใช้โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  • ใช้แทนการออกกำลังกายไม่ได้
  • อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า เช่น
    • ช็อคหรือหมดสติจากเครื่องทำงานผิดปกติ หรือร่างกายบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้ารั่ว
    • การไม่สามารถควบคุมเครื่องได้อันเป็นผลจากการรบกวนของเครื่องหรืออุปกรณ์บำบัดด้วยคลื่นสั้นและไมโครเวฟ ทำให้เกิดการไหลของกระแสขึ้นเอง หรือไหลเพิ่มขึ้น ฉะนั้นจึงควรจัดเครื่องกระตุ้นอยู่ห่างจากเครื่องหรืออุปกรณ์บำบัดด้วยคลื่นสั้นและไมโครเวฟอย่างน้อย 3 เมตร และควรใช้ปลั๊กแยก
  • อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้
  • อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายจากการที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณหัวใจ
  • อาจเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรงบริเวณหลอดลมและหลอดเสียงจากการวางขั้วกระตุ้น (electrode) เหนือบริเวณคอหรือปาก จนทำให้หายใจลำบาก
  • มีระบบสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว

เครื่องอุลตราซาวด์

  • ใช้โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  • อาจทำให้เกิดอาหารช็อค หรือหมดสติจากการทำงานผิดปกติของเครื่อง หรืออาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของร่างกาย จากการรั่วของกระแสไฟฟ้าของเครื่อง
  • อาจทำให้เกิดการไหม้ของเนื้อเยื่ออันเป็นผลจากการไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สม่ำเสมอ หรือการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือการใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • อาจเกิดอาการปวดของเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum pain)
  • การใช้ในขนาดที่มากหรือนานเกินไป อาจทำให้เกิดการไหม้ หรือเกิดการทำลายของเซลล์ มีจุดเลือดออกจากผลของการเกิดฟองอากาศในเนื้อเยื่อ (gaseous cavitation)
  • เพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานไปในอากาศ ต้องใช้สารตัวกลางทาบริเวณที่จะทำการรักษา เช่น น้ำ หรือเจล เป็นต้น อาจทำให้เกิดการไหม้ของเนื้อเยื่ออันเป็นผลจากการไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สม่ำเสมอ หรือการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือการใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ข้อควรระวัง

เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า

  • ผู้มีความผิดปกติของระบบประสาทรับสัมผัส
  • เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้
  • ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังบริเวณที่ต้องทำการรักษา
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตผิดปกติ
  • ผู้ที่สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจหรือผู้ป่วยโรคลมชัก
  • ผู้ที่มีแนวโน้มเลือดออก เช่น ภายหลังการทำผ่าตัด บาดเจ็บ กระดูกหัก หรือขณะมีรอบเดือน
  • ผู้ป่วยที่เคยมีอาการระคายเคืองผิวหนังหรือมีผิวหนังที่ไวต่อการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
  • บริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ (bony prominence)
  • บริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิด
  • บริเวณเส้นเลือดขอด (varicose vein)

เครื่องอัลตราซาวด์

  • ผู้ที่สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกบริเวณผิวหนัง หรือบริเวณที่มีความผิดปกติของความรู้สึกที่มากหรือน้อยผิดปกติ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติที่ผิวหนัง เช่น ผื่นแดงผิวหนังเกิดใหม่ (new skin) หรือเนื้อเยื่อบริเวณแผลเป็น (scar tissue) ใหม่ ๆ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต (circulatory dysfunction) เช่น เส้นเลือดขอด (varicose vein) ภาวะที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (phlebothrombosis)
  • ไม่ควรใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายในเวลาเดียวกัน
  • บริเวณหน้า
  • บริเวณด้านหน้าของลำคอ
  • บริเวณที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่เกี่ยวข้องกับการตัดแผ่นรองกระดูก
  • พื้นที่ส่วนที่ได้รับยาชา
  • บริเวณหัวใจและปอด
  • บริเวณที่มีส่วนต่อการสร้างกระดูกในเด็ก
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้ซึ่งการหดตัวของกล้ามเนื้ออาจขัดขวางกระบวนการสมานแผล

ข้อห้ามใช้

เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า

  • บริเวณท้องของหญิงมีครรภ์
  • ความผิดปกติของผิวหนัง (abnormal skin) ได้แก่โรคเรื้อนกวาง หรือสะเก็ดเงิน
  • บริเวณที่มีอาการบวมติดเชื้อหรืออักเสบ
  • บริเวณที่เป็นมะเร็งและวัณโรค
  • ผู้ที่ใช้เครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (cardiac pacemaker)
  • ภาวะโรคหัวใจอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่มีไข้สูง
  • บริเวณลำคอด้านหน้า หรือผ่านหัวใจ หรือผ่านสมอง
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทรับสัมผัส (impair of senstion)
    มีแผลเปิดในบริเวณที่ให้การรักษา

เครื่องอัลตราซาวด์

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ภาวะเลือดออกง่าย (homorrhagic diathesis)
  • บริเวณหน้าท้องของหญิงมีครรภ์
  • บริเวณไขสันหลัง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา
  • บริเวณ ipiphysial plate เพราจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของกระดูก
  • บริเวณตาและรอบดวงตา
  • บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
  • บริเวณที่มีการเปลี่ยนข้อเทียมที่ประกอบด้วย methyl methacrylate หรือ high density polycthylene
  • บริเวณที่ได้รับยาชา
  • บริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • บริเวณที่มีความเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง ที่มีการติดเชื้อ และมีรอยปาน
  • ผู้มีเนื้องอก (tumor)
  • ผู้ที่มีไข้
  • ผู้ป่วยกล้ามเนื้อฝ่อ
  • ผู้ป่วยเป็นวัณโรค
  • ผู้ป่วยมีการอักเสบเฉียบพลัน
  • มีแผลในกระเพาะอาหาร
  • เพิ่งได้รับการรักษาด้วย Thoriam-X และรักษาด้วยการฉายเอ็กซเรย์เชิงลึก
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต (circulatory dysfunction) เช่น เส้นเลือดขอด (varicose vein) ภาวะที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (phlebothrombosis)
  • ผู้ที่เป็นโรครูมาติสซั่มของข้ออย่างเฉียบพลัน
  • ผู้ป่วยมีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
  • ไม่ควรใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายในเวลาเดียวกัน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติที่ผิวหนัง เช่น ผื่นแดงผิวหนังเกิดใหม่ (new skin) หรือเนื้อเยื่อ
  • บริเวณแผลเป็น (scar tissue) ใหม่ๆ
  • ผู้ที่สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกบริเวณผิวหนัง หรือบริเวณที่มีความผิดปกติของความรู้สึกที่มากหรือน้อยผิดปกติ
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าพร้อมอัลตร้าซาวด์ - Prapatsorn Medical เครื่องมือกายภาพบำบัด และตรวจปอด
68558 5549549 1 Prapatsorn Medical เครื่องมือกายภาพบำบัด และตรวจปอด

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าพร้อมอัลตร้าซาวด์ Combination Therapy จากเยอรมัน ที่เป็นเครื่อง Combine กายภาพบำบัดที่ดีที่สุด และมีความคงทนสูง หน้าจอ touch screen

Product SKU: Stereodynator

Product Brand: GBO Medizintechnik

Product Currency: THB

Product Price: CALL

Product In-Stock: InStock

Editor's Rating:
5