ประวัติและความเป็นมาของการรักษาด้วยคลื่น PMS

ประวัติและความเป็นมาของการรักษาด้วยคลื่น PMS

การรักษาด้วยคลื่น Peripheral magnetic stimulation ( PMS Therapy ) เป็นเทคนิคการรักษาทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นสนามแม่เหล็กแบบพลังงานสูงในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system)* ของร่างกาย


การใช้คลื่นสนามแม่เหล็กในการรักษามีความเป็นมาตั้งแต่ช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 โดยการใช้คลื่นสนามแม่เหล็กในการรักษาเบื้องต้นเริ่มต้นด้วยการใช้คลื่นสนามแม่เหล็กแบบคงที่ที่มีพลังงานต่ำ เพื่อช่วยลดอาการปวด อาการอักเสบของเนื้อเยื่อหรือข้อต่อ ซึ่งต่อมาได้เริ่มมีพัฒนาการใช้งานคลื่นสนามแม่เหล็กแบบพลังงานสูงในการกระตุ้นสมอง ที่เรียกว่า Transcranial magnetic stimulation (TMS) ซึ่งสามารถกระตุ้นและยับยั้งการทำงานของสมองส่วนต่างๆได้ จึงนำไปรักษาในส่วนของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า (Depression) และผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของสมอง เป็นต้น โดยการนำคลื่นสนามแม่เหล็กใช้การกระตุ้นภายนอกในช่วงแรก ใช้เพื่อการศึกษาการนำไฟฟ้าของระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve conduction) และการประเมินความสามารถของระบบประสาท

Nervous System Prapatsorn Medical เครื่องมือกายภาพบำบัด และตรวจปอด

นักวิจัยใช้คอยล์แม่เหล็กในการสร้างช็อกไฟฟ้าแม่เหล็กแบบสั้นๆ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเส้นประสาทแบบช่วง (Pulse)  ที่จะส่งเข้าไปยังเส้นประสาทแบบเฉพาะเจาะจง การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในเส้นประสาท ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถประเมินการตอบสนองของระบบประสาท ความเร็วในการส่งข้อมูลและลักษณะการตอบสนองของระบบประสาทได้ และตามมาด้วยการใช้คลื่นสนามแม่เหล็กแบบพลังงานสูงที่เน้นไปการรักษาระบบประสาทส่วนปลาย ซึ่งการรักษาด้วยคลื่น PMS เป็นเครื่องมือที่สร้างคลื่นสนามแม่เหล็กที่มีความถี่และความเข้มของคลื่นที่เหมาะสมต่อการรักษาส่งไปยังบริเวณที่ต้องการรักษาบริเวณชั้นตื้นและลึกได้เป็นอย่างดี เพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทภายในร่างกาย ซึ่งสามารถใช้ในการรักษาอาการปวด อาการชา การปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และส่งเสริมการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น

ทฤษฎีการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กภายนอกได้ถูกปรับปรุงและขยายความสามารถในหลายๆ ด้าน รวมถึงในส่วนของงานวิจัยเบื้องต้น เช่น งานวิจัยทางเภสัชวิทยาทางประสาท ได้ศึกษาการกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กภายนอกเพื่อศึกษาฟังก์ชันและการเชื่อมต่อของประสาทเส้นรอบขอบเขตภายในร่างกาย มันช่วยให้นักวิจัยเข้าใจบทบาทของประสาทเส้นรอบขอบเขตภายในกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ และอาการของโรคทางสมอง งานวิจัยทางคลินิกสามารถช่วยในการตรวจประเมินปัญหา Peripheral nerve disorder (ประสาทเส้นเสียหาย ประสาทที่เสียหายอาจไม่ส่งข้อความได้อย่างถูกต้อง หรืออาจไม่ทำงานเลย ผลที่เกิดขึ้นคือผู้ป่วยมีอาการปวดเจ็บ การเดินยาก หรือปัญหาอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าประสาทใดถูกเกี่ยวข้อง) เช่น ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathies ) และการกดทับเส้นประสาท โดยการกระตุ้นประสาทที่เป็นภาวะผิดปกติ แพทย์สามารถประเมินฟังก์ชันของประสาทและตรวจพบความผิดปกติได้ หรือ การจัดการกับอาการปวด การกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กภายนอกได้ถูกศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง มีความเชื่อว่าการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กสามารถปรับแต่งเส้นทางส่งสัญญาณเจาะจงเพื่อลดอาการปวดในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีงานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ และในด้านการฟื้นฟูสมอง การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กภายนอกกำลังได้รับการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพลาสติซิตี้ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหว

มันได้แสดงความสมบูรณ์ในการช่วยเพิ่มการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวในโรคหลอดเลือดสมองและการบาดเจ็บสมองส่วนล่างเช่น อัมพฤกษ์และการบาดเจ็บสมองส่วนล่า และในปัจจุบันการรักษาด้วยคลื่น PMS ได้รับความสนใจ ในการศึกษาทางด้านงานวิจัย และการใช้งานในหลายๆด้านมากขึ้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีความน่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์ในการรักษาทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูมากเลยทีเดียว

*ระบบประสาทส่วนปลาย* (Peripheral Nervous System: PNS) คือส่วนของระบบประสาทที่แตกแขนงออกมาจากระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS) ทำหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทหรือข้อมูลที่ได้รับจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่สมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการควบคุมและประมวลผล และนำคำสั่งหรือผลของสิ่งเร้าที่ได้จากการประมวลผลส่งต่อไปปฏิบัติยังหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ รวมถึงเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างถูกต้อง เช่น ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกร้อนและเย็น การรับรู้แรงกดทับที่ผิวหนัง และการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น **อ้างอิง https://ngthai.com/science/26889/peripheral-nervous-system/

โดย กภ.เอกพันธ์ ภู่เงิน

ep.1 หลักการทำงานของ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)

Related Posts

กายภาพบำบัด และ กิจกรรมบำบัด ต่างกันอย่างไร

ค้นพบความแตกต่างสำคัญระหว่างกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมาย เทคนิคการรักษา และวิธีการที่ใช้ในการฟื้นฟูสุขภาพเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกการบำบัดที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

Spirometer (สไปโรมิเตอร์) วัดสมรรถภาพปอดได้อย่างไร

สไปโรมิเตอร์ (Spirometer) วัดสมรรถภาพปอดได้อย่างไร: ค้นพบวิธีการทำงานของอุปกรณ์นี้ในการวัดปริมาตรและความเร็วของการหายใจ เพื่อประเมินสุขภาพปอดและตรวจหาปัญหาทางการหายใจ

เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ทำงานอย่างไร

เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายทำงานอย่างไร: เรียนรู้วิธีการทำงานของเครื่องมือที่ใช้วัดมวลกล้ามเนื้อ ไขมัน น้ำ และแร่ธาตุในร่างกาย เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น