Skip to content
+662-611-6500
Contact via LINE
Home
About PES
Our Philosophy
Our Missions
PES Cares
Work With Us
Brand Holding
Our Products
Physiotherapy Products
Rehab Solutions
Lung Function Products
Consumables and Home use Products
Services
Aftersales Service
Our Blogs
Artifical Intelligence
Contact PES
PES Warranty
Home
About PES
Our Philosophy
Our Missions
PES Cares
Work With Us
Brand Holding
Our Products
Physiotherapy Products
Rehab Solutions
Lung Function Products
Consumables and Home use Products
Services
Aftersales Service
Our Blogs
Artifical Intelligence
Contact PES
PES Warranty
PESNEWS
What is PMS Ep.3
July 26, 2023
หลักการทำงานของคลื่น
PMS
หลักการทำงานของ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการรักษาด้วยการกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็ก (Magnetic field) ที่ใช้เพื่อกระตุ้นระบบประสาทภายในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) ซึ่งเป็นเส้นใยประสาทที่อยู่นอกส่วนของสมองและกระดูกสันหลัง
โดยหลักการทำงานของเครื่อง PMS มาจากหลักการของกฎวงจรของแอมแปร (Ampere’s circuital law) เป็นหนึ่งในกฎของฟิสิกส์ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบตัวนำไฟฟ้า กฎนี้ได้รับชื่อจากนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ “อันดรีแอมแปร” (André-Marie Ampère) ผู้ที่ค้นพบและศึกษาเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในคริสตัลเทนส์ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 และเป็นหนึ่งในหลักการที่สำคัญในฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ซึ่งกล่าวว่า เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กรอบๆตัวนำไฟฟ้า โดยสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นนี้ก็จะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าไปยังวงจรอื่นๆในระบบได้ต่อไปอีก และจะเกิดการสร้างสนามแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้าซ้ำไปซ้ำมาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจากหลักการดังกล่าวตัวเครื่อง PMS มีหน้าที่ในการสร้างกระแสไฟฟ้ากำลังสูงส่งไปยังตัวนำไฟฟ้าภายในหัวส่งคลื่น โดยตัวนำไฟฟ้าภายในหัวส่งคลื่นจะวางตัวเป็นขด (coil) หรือทรงกลมอยู่ภายใน ซึ่งจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่มีพลังงานสูงมากกว่าตัวนำแบบเส้นตรงจากการรวมตัวกันของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น เมื่อนำไปวางตามแนวเส้นประสาทที่ต้องการ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในเนื้อเยื่อและระบบประสาท ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานของเส้นประสาท ส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทรับความรู้สึกและการสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อจนสามารถเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อได้ ถึงการใช้เครื่อง PMS จะเป็นการส่งคลื่นสนามแม่เหล็กกำลังสูงในระดับที่ทำให้เกิดผลการกระตุ้นในระบบประสาทได้ แต่ไม่ถึงขั้นทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้การกระตุ้นนี้ค่อนข้างมีความปลอดภัยในการรักษา แต่อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่อง PMS ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงการควบคุมความเข้มข้นของกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในกรณีที่มีอาการป่วยหรือสภาวะที่อาจเกิดความเสี่ยงเพิ่มเติม จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำและรักษาจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เท่านั้น
โดย กภ.เอกพันธ์ ภู่เงิน
Related Posts
Knowledge
เครื่องอัลตร้าซาวด์ กายภาพบำบัด
May 18, 2025
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
Knowledge
Parkinson’s gait: A case study
April 24, 2025
การเดินในผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson’s gait: A case study) โรคพาร์กินสันเผยให้เห็นรูปแบบการเดินที่เป็นเอกลักษณ์ที่เรียกว่า "Festinating Gait" ซึ่งเป็นรูปแบบการเดินที่ผิดปกติ โดยสามารถสังเกตเห็นก้าวเดินที่สั้นและช้า รวมถึงการเดินที่ช้าโดยมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ช้า (bradykinesia) หรือแม้กระทั่งการสูญเสียการเคลื่อนไหวโดยสิ้นเชิง (akinesia)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
Knowledge
60% stance phase – 40% swing may not always be “normal”?
April 24, 2025
การเข้าใจพารามิเตอร์เชิงเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษารูปแบบการเดิน เพราะมันช่วยให้เราสามารถสังเกตและระบุความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม, สิ่งนี้จะสะท้อนถึงวงจรการเดินที่สมบูรณ์แบบเสมอไปหรือไม่?
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม